วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทางสื่อออนไลน์ โดยผู้เขียนได้เสนอความคิดไว้ดังนี้  
            นักการศึกษายุคใหม่ได้เสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้
                        1. ผู้สอนต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เพราะผุ้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 
หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา
                        2. ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ผู้สอนไม่ใช่นำความรู้ไปใส่สมองผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน
3. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนที่มีวินัย  มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่น  หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบอิสระ  หรือแบบประชาธิปไตย
                        4. โรงเรียนต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน เพราะข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี 
                        5. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวดและ ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่รู้จักการยืดหยุ่น
                        6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่  เพราะสังคม หรือชุมชนรอบตัวผู้เรียนมีข้อมูลข่าวสารมากมายที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ 
                        7. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (deep learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน (shallow learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึก รู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบ งูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป  จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร
และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                        8. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอน (instructor) คือต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent) บทบาทของครูในโลกยุคใหม่จึงต้องกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดูแลโปรแกรมการเรียนการสอนเท่านั้น เพราะทำให้ผู้เรียนที่จบจากโรงเรียนมีปัญหานเรื่องความรู้ และทักษะ คือรู้ก็รู้ไม่จริง แล้วยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
                        9. การเรียนในโรงเรียน (schooling) กับการศึกษา (education) ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน        วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เคยกล่าวไว้กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Mr. R.A. Butler) เมื่อปี ค.ศ.1944 ว่า  โรงเรียนไม่มีความจำเป็นมากนักในการจัดการศึกษา เพราะเป็นเพียงสถาบันที่มีงานหลักคือการพร่ำอบรมสั่งสอนเด็กๆ เท่านั้น แต่การศึกษามีความแตกต่างออกไปอย่าง   
สิ้นเชิง และการศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนน้อยมาก
                        10. โลกอนาคตจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (home–based education) มากขึ้น เด็กๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง
นอกจากหลักการเรียนรู้ 10 ประการ ข้างต้นแล้ว นักการศึกษายังได้เสนอแนวคิดหลักในการจัด ระบบการเรียนรู้ (learning system) อีก 7 ประการ สำหรับยุคศตวรรษที่ 21 คือ
1. ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง
2. การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย
3. หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท (catalogue curriculum) ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนเต็มเวลาในสถานศึกษาทั้งหลักสูตร (full time) หรือจะเรียนที่บ้านทั้งหมด หรือจะเลือกเรียนที่บ้านและเรียนที่โรงเรียนบางเวลาก็ได้ (flexi–time schooling plan)
4. มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan)
5. การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
6. ครูมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent)
7. ระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น

จากประเด็นความคิดที่ได้จากบทความนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ และสามารถใช้เป็นแนวในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้ จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ หลักการจัดระบบการเรียนรู้ และหลักในการจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น  รวมทั้งจากผลการวิจัยจำนวนมาก ในระยะไม่กี่สิบปีมานี้ เราจะพบว่าประเทศต่างๆตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ในสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อให้พลเมืองในประเทศของตนสามารถแข่งขันในเวทีโลก และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของโลก อย่างไรก็ตาม  ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย  หากไม่ได้รับความร่วมมือจากครูผู้ปฏิบัติจริง และผู้บริหารสถานศึกษา   โดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ส่วนครูผู้สอน ก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาท และต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ด้วย  หากครูผู้สอนยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ หรือมีความเชื่อแบบเดิม ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็จะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากยังมีสิ่งที่ท้าทายผู้เรียนเป็นจำนวนมากในโลกภายนอก   และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ผู้เรียนต้องออกไปค้นหา บูรณาการ  สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  และต้องรู้จักร่วมมือกันกับคนอื่นๆในการทำงาน  ซึ่งการที่จะผลิตคนให้มีคุณลักษณะข้างต้น
ได้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  แต่การพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงจุดหมายดังกล่าวก็ต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติเหมาะสมกับยุคสมัย และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างประสบสุข ตามควรแก่อัตภาพ  qqqq

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น