วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21


   ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง กรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 ทางสื่อออนไลน์ มีใจความโดยสรุปดังนี้  
            ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO INNOTECH) ครั้งที่ 52 ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 กันยายน ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 โดยมีการเห็นชอบกรอบสมรรถนะของครูแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ Dr.Erlinda C. Pefianco ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอ อินโนเทค ได้แจ้งผลศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานสมรรถนะของครูในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การวัด และพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวแก่ครูผู้สอน ผลการ วิจัยพบว่าสมรรถนะหลัก (Competency) ของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 11 ด้าน และภาระงาน / ความสามารถเฉพาะ ดังนี้
1. การเตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
1.1 ประเมินความต้องการในการเรียนรู้ที่มีอยู่จริง
1.2 จัดระบบของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมถึงความรู้ ทักษะ
       ความถนัดและค่านิยม         
1.3 จัดเตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตร และระยะเวลา
1.4 จัดเตรียมแผนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
1.5 เลือกวิธี สอนที่เหมาะสม กับรายวิชาและระดับผู้เรียน
1.6 เลือกอุปกรณ์ ประกอบการเรียนการสอน อย่างเหมาะสม
1.7 กำหนดมาตรการการประเมินผลที่เหมาะสม
1.8. นําผลการประเมินผู้เรียน และข้อคิดเห็นของผู้สอนมาพัฒนา
      แผนการสอน
2. การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ
ดังนี้
2.1 สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัย สะอาด เป็นระเบียบ
2.2 ส่งเสริมสภาพ แวดล้อมที่เอื้ออาทร และเรียนรู้อย่างเป็นมิตร
2.3 จงใจให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น
2.4 ส่งเสริมการรักษามาตรฐาน ระดับสูงของสมรรถนะการเรียนรู้
2.5 เคารพในความหลากหลายของผู้เรียน
2.6 คงสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แบบร่วมมือกัน
3. การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนการสอน  ประกอบด้วยภาระงาน และ
ความสามารถเฉพาะ ดังนี้
3.1 แสวงหาความรู้และทักษะการใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
3.2 พัฒนาสื่อ การเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับบทเรียน
3.3 ใชสื่อระหว่างจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
3.4 บูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน
3.5 ติดตาม และประเมินผลการใชสื่อการเรียนการสอน
4. การพัฒนาทักษะการจัดลำดับความคิดในระดับสูง  ประกอบด้วยภาระงาน และ
ความสามารถเฉพาะ ดังนี้
4.1 เตรียมสร้างทักษะและยุทธศาสตร์ HOTS (Higher order thinking skills)
4.2 พัฒนาทักษะ HOTS แก่ผู้เรียน
4.2.1 พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.2.2 พัฒนาทักษะ การคิดแบบพินิจพิเคราะห์
4.2.3 พัฒนาทักษะการคิดเหตุผลตรรกะ
4.2.4 พัฒนาทักษะแกปัญหา และตัดสินใจ
4.3 เสริมสร้าง HOTS ในผู้เรียน
4.4 ประเมิน HOTS ของผู้เรียน
5. การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถ
เฉพาะ ดังนี้
5.1 สร้างความรอบรู้ในสาระวิชา
5.2 กำหนดยุทธศาสตร์การสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบ และเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นของผู้เรียน
5.3 สื่อสารอย่างสอดคล้องกับระดับของผู้เรียน
5.4 ส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมมือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
5.5 ใช้การตั้งคำถาม และทักษะการปฏิสัมพันธ์
5.6 บูรณาการ HOTS กับบทเรียน 
5.7 สร้างวิธ๊สอนในบริบทของท้องถิ่น
5.8 บริหารจัดการกิจกรรมในชั้นเรียน
6. การส่งเสริมค่านิยมด้านศีลธรรมและจริยธรรม  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
6.1 กำหนดหลักเกณฑ์ จริยธรรมวิชาชีพของครูในแต่ละประเทศ
6.2 ยกระดับและสร้างหลักเกณฑด้านจริยธรรมวิชาชีพครู
6.3 ให้ความรู้แก่ผู้เรียน และครูผูช่วยสอนในเรื่องค่านิยมจริยธรรม
      และศีลธรรม
7. ส่งเสริมการพัฒนาชีวิต และทักษะวิชาชีพแก่ผู้เรียน ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
7.1 ให้ความรู้ สร้างทักษะ และความถนัด รวมถึง ค่านิยมของศตวรรษท 21
7.2 ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนในด้านการเรียนเพื่อให้รูจัก ความรู้  ทักษะ
       ความถนัด และค่านิยม
7.3 ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนในด้านการเรียนเพื่อใช้ความรู้ ทักษะ
      ความถนัด และค่านิยม
7.4 ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนเพื่อเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ ความถนัด
       และค่านิยม
7.5 ส่งเสริมพัฒนาการ ของนักเรียนให้อยู่อย่างมีความรู้ ทักษะ ความถนัด
       และค่านิยม (ความฉลาดทางอารมณ์)
7.6 ประเมินนักเรียน ในด้านความรู้ ทักษะ  ค่านิยม และความถนัด
       ทางการศ๊กษา  4  ด้าน
8. การวัดและประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
8.1 ค้นคว้า ความรู้/ทักษะ เกี่ยวกับการทดสอบ และประเมินผล
8.2 พัฒนาความรู้ และรวบรวมเครี่องมือสำหรับการประเมิน
8.3 ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม
8.4 นำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้
9. การพัฒนาด้านวิชาชีพ  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
9.1 วิเคราะห์เพื่อให้ทราบความต้องการในการพัฒนา
9.2 จัดเตรียมแผนการพัฒนาด้านวิชาชีพของแต่ละคน
9.3 จัดกิจกรรมการพัฒนาด้านวิชาชีพ
9.4 พิจารณาถึงความสอดคล้องของกิจกรรมการพัฒนาที่จัดขึ้น
       กับความต้องการ
9.5 มีการนำไปใช้ แบ่งปัน และเผยแพร่องค์ความรู้ และทักษะที่ได้รับจาก
       กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และการศึกษาดูงาน ฯลฯ
9.6 ทำหน้าที่พี่เลี้ยง แก่นักเรียน/ครู ใหม่
9.7 ประเมินผลกระทบ ของกิจกรรมการพัฒนาด้านวิชาชีพที่จัดขึ้น
10. การสร้างเครือข่ายกับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ปกครองนักเรียน ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
10.1 ส่งเสริมทักษะ ด้านการประชาสัมพันธ์
10.2 พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง
10.3 แบ่งปันความรับผิดชอบแก่ชุมชนในการจัดการศึกษาแก่นักเรียน
10.4 เข้าร่วมกิจกรรมด้านสังคม กับชุมชน
11. การจัดสวัสดิการ และภารกิจแก่นักเรียน  ประกอบด้วยภาระงาน และความสามารถเฉพาะ ดังนี้
11.1 แนะนำ และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน
11.2 พัฒนาการให้คำปรึกษา และทักษะอื่นในแบบบูรณาการ
11.3 จัดและสนับสนุนกิจกรรมด้านสังคม และหลักสูตรเสริม
11.4 ช่วยเหลือ ผู้เรียนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
11.5 ดำเนินการบริหารจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

จากบทความนี้ จะพบว่าหน่วยงานด้านการศึกษาระดับชาติ หรือระดับภูมิภาคต่างให้ความสำคัญกับการกำหนดสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้มีความเท่าเทียมกัน และเป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันเพื่อการศึกษาของผู้เรียนในภูมิภาคนี้จะได้มีคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จากสมรรถนะที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO INNOTECH) ได้ศึกษาไว้จะเห็นว่าสอดคล้องกับสมรรถนะครูไทยที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดไว้ จำนวน 5 สมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน จำนวน 6 สมรรถนะ ได้แก่
1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ
1.1  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
1.2  การบริการที่ดี
1.3  การพัฒนาตนเอง
1.4  การทำงานเป็นทีม
1.5  จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู
2. สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency)  ประกอบด้วย 6  สมรรถนะ คือ
2.1  การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2.2  การพัฒนาผู้เรียน
2.3  การบริหารจัดการชั้นเรียน 
                       2.4  การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
                        2.5  ภาวะผู้นำครู
                        2.6  การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังได้กำหนดตัวชี้วัดของแต่ละสมรรถนะไว้อย่างชัดเจน  นั่นก็เป็นการประกันคุณภาพของครูไทยได้ในระดับหนึ่งว่ามีแนวทางการประเมินที่สอดคล้องกับสากล และมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทั้งนี้ในการปฏิบัติจริงคณะกรรมการที่ประเมินคุณภาพครูมีความจริงจังในการประเมินมากน้อยเพียงใด  หากครูไทยมีสมรรถนะตรงตามที่ คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO INNOTECH) ได้ศึกษาไว้นั่นก็แสดงว่าประเทศไทยพร้อมที่จะเข้าร่วมจัดการศึกษาตามกรอบความร่วมมือของภูมิภาคอาเซียน  qqqq

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น