วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โอกาสที่ไทยต้องรีบคว้า การศึกษากับประชาคมอาเซี่ยน


   ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง โอกาสที่ไทยต้องรีบคว้า การศึกษากับประชาคมอาเซี่ยน เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  ฉบับวันพุธที่ 19 มกราคม 2554 มีใจความโดยสรุปดังนี้  
รัฐบาลไทยได้ตอบรับกระแสอาเซี่ยนได้ดีมาก ก่อให้เกิดความตื่นตัวเรื่องการรวมเป็นประชาคมอาเซียนที่คาคว่าจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2558 หรือ ค.ศ.2015 ได้มีการเตรียมการต่างๆ มากมาย เพราะหากแผนการรวมประชาคมเกิดเสร็จสมบูรณ์  ประเทศใดขาดความพร้อมย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  ความพร้อมของประเทศไทยขณะนี้นับว่าคึกคักมาก โดยเฉพาะเมื่อกระทรวงศึกษาธิการเดินหน้าเต็มที่ วางแผนเชิงปฏิบัติการ จัดทำกรอบการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นฮับทางการศึกษาของอาเซียน  แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียน 2011-2015 กระทรวงศึกษาธิการเน้นบูรณาการและให้เกิดความ สอดคล้องกับปฏิญญาด้านการศึกษาอาเซียน คือ ให้มีความหลากหลาย และครอบคลุม 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน คือ   
1. การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  
2. การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. การเป็นประชาคมสังคม และ วัฒนธรรมอาเซียน
โดยมีจุดเน้นที่การสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมแห่งความเอื้ออาทร และร่วมแบ่งปัน มีวิสัยทัศน์เดียวกัน มีอัตลักษณ์เดียวกัน และเป็นประชาคมเดียวกัน (One Vision, One Identity, One Community)
หน้าที่หลักที่กระทรวงศึกษาธิการต้องทำคือ การเตรียมความพร้อมของเด็ก และเยาวชนเพื่อรองรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ดังนั้น จึงมีการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาของประเทศไทย 4 นโยบาย ซึ่งมียุทธศาสตร์สำคัญ ดังนี้
1. การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมพร้อมของครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558
2. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงทักษะ ความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ  ที่สำคัญคือประเทศไทยต้องมีการสร้างมาตรฐาน       ด้านการศึกษาที่เทียบเท่ากับนานาชาติในอาเซียน โดยการจัดทำกรอบมาตรฐานการศึกษาของไทย หรือที่เรียกว่า TQF (Thailand Qualification Framework) ในส่วนของอาชีวศึกษาก็มีการจัดทำ TVQ (Thailand Vocational Qualification) เพื่อจัดระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพของไทย
3. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยเอกชนก็ต้องตื่นตัวและตอบรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมากับโอกาสและมูลค่าทางการตลาดที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนจำนวนมหาศาล ทั้ง 580 ล้านคน ในประชาคมอาเซียนนี้
4. การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยเน้นการพัฒนาสมรรถนะ ทักษะการทำงานของเยาวชนไทยว่าควรจะพัฒนาตรงจุดไหน

จากบทความนี้ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความนี้ที่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการมีความตื่นตัวเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  โดยเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาด้านอาเซียน เพื่อรองรับความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน หรืออาจเรียกว่าพลเมืองอาเซียน (ASEAN Population)  ดังจะเห็นได้จากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้เร่งมือทำนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาไทยสู่การเป็นฮับอาเซียนให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างเต็มที่ โดยมีการเตรียมประชุมกับสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านอาเซียนศึกษาเพื่อรองรับ และเตรียมความพร้อมทุกด้าน  และล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ได้สั่งการให้สถานศึกษาต่างๆ เตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดหาอาจารย์ชาวต่างชาติเข้ามาสอน เพื่อให้เด็กไทยมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น หวังว่าปฏิบัติการศึกษาอาเซียนจะเป็นอีกหนึ่งปฏิบัติการของประชาวิวัฒน์ด้านการศึกษาชาติอย่างจริงจัง  หากมองในแง่ยุทธศาสตร์ โอกาสที่ประเทศไทยจะผลักดัน  ให้สถาบันการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งรัฐ และเอกชนที่มีความพร้อมสูง เข้าไปมีส่วนในการขับเคลื่อนสร้างคุณภาพประชาชนที่กำลังกลายเป็นประชาชนชาวอาเซียนทั้ง 580 ล้านใน 10 ประเทศ โอกาสนี้นับว่าเป็นโอกาสทองทางการศึกษาที่ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยไทยต้องรีบคว้า และเร่งดำเนินการให้เห็นผลโดยเร็ว  
ข้าพเจ้าคิดว่าการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน จึงกลายเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับการศึกษาไทยปัจจุบัน เพราะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่จะทำให้ไทยสามารถยืนอยู่บนเวทีอาเวี่ยนได้อย่างสง่างาม เทียบเท่ากับประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้  ข้าพเจ้าคิดว่าระดับการศึกษาที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน และเร่งปรับแผนดำเนินการคือการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพราะการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันน่าจะเกิดขึ้นที่ระดับนี้มากกว่าระดับอื่นๆ  ดังจะพบว่า ล่าสุด สกอ.มีนโยบายแลกเปลี่ยนนิสิต-นักศึกษาในกรอบของอาเซียน ตามโครงการที่ทำอยู่ตอนนี้ คือ MIT (Malaysia Indonesia and Thailand) โดยปิดโอกาสให้ทางมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ประเทศส่งนักศึกษาเข้าเรียนระหว่างประเทศกลุ่ม MIT เป็นเวลา 1 ภาคเรียน โดยทาง สกอ.จะออกค่าใช้จ่ายให้นักศึกษาทั้งหมด เราคาดหวังว่าการทำโครงการนี้ จะช่วยให้นักศึกษาไทย ได้เรียนรู้ในเรื่องของอุดมศึกษา ทั้งของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งมีความคุ้นเคยกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรตามมาด้วย  ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะได้ทำหลักสูตรอาเซียน เป็นหลักสูตรระหว่างประเทศ โดยจะเขียนตำราเรียนร่วมกัน 10 ประเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้ดึงเอาเงินอาเซียนมาให้การสนับสนุน โดยผ่านผู้แทนถาวรของอาเซียน ความตื่นตัวด้านการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน กำลังเป็นเรื่องใกล้ตัว และจะกลายเป็นเงาที่ติดตามพลเมืองอาเซียนไปทุกๆ ที่
แม้หลายฝ่ายจะเห็นด้วยกับการที่มหาวิทยาลัยไทยมีการปรับตัวกันมากในเรื่องอาเซียนนี้ แต่การปรับตัวไม่ใช่ทำตามกระแสจนมากเกินไป จนลืมรูปแบบวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของประเทศไทย ส่งผลให้ถูกลดทอนเรื่องวิถีชีวิตไทย และวัฒนธรรมไทยถูกกลืนเกือบหมด  หากเป็นเช่นนั้นก็คงไม่ถูกต้อง
ข้าพเจ้าคิดว่ารูปแบบที่ประเทศไทยควรใช้คือรูปแบบที่ต้องคงความเป็นไทยไว้ ขณะเดียวกันก็พัฒนาจุดเด่นให้ดีขึ้น และผสมผสานความเป็นสากล จนสามารถดึงดูดให้ผู้เรียนมาเรียนในประเทศไทย ซึ่งอาจจะไม่ใช่เฉพาะผุ้เรียนอาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผุ้เรียนจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนจากยุโรป หรือจากอเมริกา    qqqq


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น