วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Why Creativity Now?


ในสัปดาห์ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง Why Creativity Now? เขียนโดย Amy M. Azzam ตีพิมพ์ในวารสาร Educational Leadership ประจำเดือนกันยายน 2509โดยผู้เขียนได้เสนอความคิดไว้ว่า  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับการยอมรับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่มนุษย์ในยุคนี้ต้องมี  เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่มีคนจำนวนหนึ่งมองว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งตรงกันข้าม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าคนเหล่าคิดว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดที่เป็นอิสระ และเป็นการคิดที่ไม่มีรูปแบบตายตัวแน่นอน  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดนตรี การเต้นรำ การทำอาหาร การสอน การบริหารจัดการครอบครัว หรือแม้แต่เรื่องของวิศวกรรม ทั้งนี้เพราะว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการของความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร และเป็นความคิดที่มีคุณค่า ส่วนสำคัญในการพิจารณาการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก็คือวิธีการคิดที่แปลกใหม่ในการทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตามที่เราเกี่ยวข้อง และการพิจารณาการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของกิจกรรมแต่ละด้านก็จะใช้เกณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน จะใช้กรอบความคิดของงานนั้นๆเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน   ประเด็นที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (misconception about creativity) ได้แก่
1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่มีลักษณะพิเศษ จึงมีคนจำนวนเล็กน้อย
    เท่านั้นที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้  ในความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น  มนุษย์ทุกคน
    มีศักยภาพมากมายที่จะมีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีลักษณะพิเศษเท่านั้น 
3. บางคนคิดว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้เพียงเราเดินไปเดินมารอบๆห้อง แล้วทำ
    บางสิ่งบางอย่างที่แปลกๆ ขึ้นมา


ผู้เขียนบทความยังยีนยันว่าเราสามารถสอนให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ โดยยึดหลักว่าสอนทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์กว้างๆ ไม่เจาะจง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิดในการเลือกใช้ทักษะพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะทำให้ได้ความคิดที่แตกต่างหลายๆ ความคิด (divergent thinking)  รวมทั้งสอนทักษะเฉพาะด้านให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนหลุดออกมาจากความคิดของตนเอง และเห็นคุณค่าของความคิดที่หลากหลายจากคนอื่น
          จากประเด็จความคิดที่ได้จากบทความนี้ ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับความคิดของผู้เขียนบทความหลายประเด็น ดังนี้
                        1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทักษะการคิดที่สำคัญทักษะหนึ่งในยุคศตวรรษที่ 21 เพราะในปัจจุบันวิทยาการต่างๆพัฒนาไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้นเพื่อให้เราต้องแก้ไข หากมนุษย์ไม่สร้างความคิดแปลกใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใช้ การแก้ไขปัญญาเหล่านั้นก้จะไม่สำเร็จ หรือไม่ยั่งยืน ดังนั้นในปัจจุบันคุณลักษณะของบุคคลที่หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องการรับเข้าทำงานคือบุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่หยุดนิ่งทางความคิด คิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ และมีเหตุผล เพื่อให้เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ  หากเราลองพิจารณาแรงกดดันต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นกับสถาบันการเมือง เศรษฐกิจ สาธารณสุข หรือการศึกษาในขณะนี้ เราจะพบว่าไม่เคยมีปํญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเลยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยความคิดที่ชาญฉลาด แปลกใหม่ มีจินตนาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในอันที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้
                        2. การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งตรงกันข้าม ไม่เหมือนกัน  ดังจะเห็นได้จากลักษณะที่ไม่เหมือนกันของการคิดทั้งสองแบบ ดังนี้
การคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1. เป็นการทำงานของสมองซีกขวา
1. เป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย
2. เป็นการคิดนอกกรอบ วิธีแก้ไขปัญหามี
    มากกว่า 1 คำตบ
2. เป็นการคิดแบบเส้นตรง มีคำตอบที่ถูก        
    เพียงคำตอบเดียว
3. เป็นการคิดที่หลากหลาย (divergent)
3. เป็นการคิดแบบสรุป (convergent)
4. เป็นความคิดทั่วไป (generative)
4. เป็นการคิดแบบวิเคราะห์ (analytic)

                        3. สามารถสอนให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง เพราะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางความคิดที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัว การจัดการศึกษาสามารถส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ ถ้าผู้สอน หรือผู้ออกแบบการสอนไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน
4. ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความนี้ที่ว่ายังมีคนอีกหลายคนที่มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง ที่ยังคิดว่าความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่มีลักษณะพิเศษ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีลักษณะพิเศษเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่มีความคิดแตกต่างไปจากคนอื่นในสถานการณ์ต่างๆกัน
            นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังคิดว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดอย่างสร้างสรรค์หรือไม่  ผู้สอนบางคนจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (teaching creatively) แต่ผู้สอนบางคนจัดการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (teaching for creativity)  กล่าวคือการสอนอย่างสร้างสรรค์ (teaching creatively) เป็นการสอนที่ผู้สอนใช้ทักษะสร้างสรรค์ความคิดของตนเองในการทำให้ความคิด และเนื้อหาการสอนน่าสนใจ คิดหาวิธีการเชื่อมต่อสิ่งที่ครูจะสอน กับความสนใจของผู้เรียน แต่การสอนเพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (teaching for creativity)  หมายถึงการสอนที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดอย่างสร้างสรรค์ เช่นออกแบบการสอนที่กระตุ้นผู้เรียนให้สนใจทำการทดลอง กระตุ้นให้นักเรียนคิดสิ่งใหม่ๆ  ผู้สอนจะไม่ให้คำตอบกับผู้เรียนทุกอย่าง แต่จะให้เครื่องมือในการค้นหาคำตอบของปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น