วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)


ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) เผยแพร่ออนไลน์ที่ www.sesa20.go.th/.../article/.../World-Class%20Standard%20School%20.pdf โดยผู้เขียนได้เสนอความคิดไว้ดังนี้  จากการศึกษาวิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบ และเทียบเคียง หลักสูตรของหลายๆประเทศ  นักวิชาการด้านการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ พบจุดอ่อนของหลักสูตรของการศึกษาไทยในหลายๆประเด็น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่พบนั้น จึงดำเนินการจัดทำโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ขึ้น โดยกำหนดให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยเพิ่มเติมสาระ 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge)  การเขียนความเรียงชั้นสูง (Extended-Essay) กิจกรรมโครงงานสร้างสรรค์ (CAS : Creativity, Action, Service) โลกศึกษา (Global Education)  และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาต่างประเทศที่ 2 อีก 1 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น สเปน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และภาษาประเทศเพื่อนบ้าน นอกเหนือจากการเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อต่อยอดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ให้เข้าสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะเป็นพลโลกมีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ
            หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาสมรรถนะ 5  ประการให้เกิดในตัวผู้เรียนได้อย่างยั่งยืน ได้แก่ 
            1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
            2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
            3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
            4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล  การจัดการปัญหา และความขัดแย้งอย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
            5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลย เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆและมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม
            ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่าภายใน 3 ปี  สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจำนวน  500 โรงเรียน จะสามารถยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน  ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสาร 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานสร้างสรรค์  ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

             จากประเด็นความคิดที่ได้จากบทความนี้ ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีประโยชน์ควรได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทุกๆฝ่าย เพื่อให้การดำเนินการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์  โดยเฉพราะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้นำโครงการนี้ไปปฎิบัติจริง ซึ่งเป็นกลไกแห่งความสำเร็จของโครงการนี้ คือ ครูผู้สอน ซึ่งต้องจัดการเรียนการสอนสาระต่างๆที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยความเต็มใจ จัดการเรียนการสอนสาระต่างๆไม่ได้เพิ่มภาระงานให้แก่ครูผู้สอนแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เน้นการสอนเนื้อหา แต่เป็นการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของความรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยครูจะต้อง ปรับวิธีเรียน  เปลี่ยนวิธีสอนเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คิดวิเคราะห์  (Critical Thinking)  อันเป็นเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2545  
            นอกจากนี้ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำมาใช้เป็นมาตรการเร่งด่วนในการยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าสากล ผู้เรียนมีศักยภาพ และความสามารถทัดเทียมผู้เรียนของนานาประเทศ เพราะคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำไม่ได้มาตรฐานทัดเทียมประเทศอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากการสำรวจ และจัดอันดับประเทศของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการศึกษา IMD ในปี 2551 โดยประเทศไทยมีดัชนีด้านสมรรถนะภาพรวมการศึกษาอยู่อันดับที่ 43  จากจำนวนประเทศที่จัดอันดับรวม  55  ประเทศ  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์การศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมได้คะแนนต่ำ  และจากการประเมินคุณภาพโรงเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานยังพบว่าโรงเรียนที่ไม่ได้เกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดมีถึงร้อยละ 65  และการจัดการศึกษาในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏผลให้เห็นเป็นรูปธรรม ยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่าที่ควรทั้งคุณภาพการศึกษา และคุณภาพของผู้เรียน ผู้เรียนยังขาดความสามารถในการคิดระดับสูง  ดังนั้นการดำเนินการโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) จะเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลกได้ในอนาคต rrr

vvvvvvvvvvvvvv

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น